มีเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ Projector ละ อยากซื้อ จอฉาย ซื้อยังไงดีมีคำตอบค่ะ



         เคยสงสัยไหมค่ะว่า จอ 150 นิ้ว ขนาดจริงๆแล้วคือเท่าไหร่ แล้วจอแบบแขวนมือดึง กับจอไฟฟ้าจะซื้อแบบไหนดีกว่ากัน เนื้อจอที่เรียกกันว่า H D กับ Matt white ต่างกันยังไง จอแบบ 1:1 กับจอ wide screen ต่างกันตรงไหน....มาพบกับคำตอบกันค่ะ

ขนาดของจอฉายหรืออัตราส่วนของภาพโดยทั่วไปแล้วจอฉายจะมีอยู่   4  แบบค่ะ คือ

       1. Square Format (1:1) หมายถึง ความสูงและความกว้างของเนื้อจอมีขนาดเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เราจะเรียกจอแบบนี้ว่า จอขนาด 70x70 นิ้ว (183x183 ซม) หรือ 50x50 นิ้ว (127x127 ซม) เวลาฉายภาพ จอแบบนี้ภาพจะเหลือบนล่างนะคะ

      2. Video Format (4:3/1.33:1)   หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 4 : 3 เหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่าๆ ค่ะ (PAL,NTSC ) รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้านิดๆ จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น ทแยงมุม 100 นิ้ว ทแยงมุม 300 นิ้ว

     3.  HDTV 16:9  (1.78:1 ) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 16: 9 ภาพจะเป็น Wide screen เหมือนจอภาพยนตร์ หรือภาพที่เราเห็นจากเครื่องเล่น DVD   รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่าแบบ 4:3  จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น 92 นิ้ว, 106 นิ้ว เหมือนแบบ 4:3 แต่ว่าขนาดกว้างxยาว จะต่างกันค่ะ

      4 16: 10  (1.6:1) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 16: 10 ภาพจะเป็น Wide screen เหมือนจอภาพยนตร์ ขนาดกว้างxยาว จะต่างกันกับ 16:9 นิดหน่อยค่ะ


ตารางเปรียบเทียบขนาดภาพ ค่ะ 



            แต่ขนาดดังกล่าวเป็นขนาดของเนื้อจอนะคะ  เวลาซื้อมาติดตั้งจะมีความยาวของกระบอกจอเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  เช่น จอแบบแขวนมือดึง ขนาดทแยงมุม 100 นิ้ว  จะมีความยาวกระบอกจอประมาณ  2.15-2.30 เมตร แต่ถ้าเป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระบอกจอจะมีความยาวประมาณ 2.30-55 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ  แต่ โดยทั่วไปแล้วจอมอเตอร์จะมีกระบอกจอที่ยาวกว่าแบบแขวนมือดึงค่ะ เนื่องจากมีส่วนที่เป็นมอเตอร์ควบคุมซ่อนอยู่ ส่วนจอตรึงจะมีขอบจอไม่กว้างมากนัก อาจจะเพิ่มจากความกว้างของเนื้อจอประมาณ 10-15 ซม



ชนิดของจอฉายภาพโปรเจคเตอร์
   1  จอฉายแบบแขวนมือดึง  เหมาะสำหรับติดประจำห้องโดยยึดจอไว้กับฝ้าหรือกำแพง เวลาใช้ก็แค่ดึงจอลงมา จอจะมีระบบล็อคไว้เมื่อลงสุด และสามารถดึงกลับไปในกระบอกจอเมือเลิกใช้

      2  จอฉายแบบมอเตอร์ไฟฟ้า หน้าตาคล้ายๆกับแบบแรก แต่มีมอเตอร์จอซ่อนอยู่ในกระบอกจอ  สะดวกตรงที่ไม่ต้องออกแรงดึงเองแต่จะมี รีโมทคอนโทรล คอยควบคุมการขึ้น-ลงของจอ ซึ่งจะเป็นรีโมททั้งแบบมีสายและไร้สาย เหมาะสำหรับจอขนาดใหญ่ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ดึงจอไม่สะดวกค่ะ  ปัจจุบันจอไฟฟ้ามีการพัฒนา ขั้นไปอีกหลายแบบ เช่น จอ มอเตอร์ไฟฟ้า แบบ Tab-tension Screen   จอชนิดนี้จะมีสลิงดึงด้านข้างจอทั้งสองด้านเพื่อให้จอภาพ ตึงมากขึ้น ขนาดมักไม่เกิน 300 นิ้ว      หรือจอแบบ Roller  Screen จอชนิดนี้จะมากับจอภาพที่มีขนาดใหญ ตั้งแต่ 300 นิ้วขึ้นไป  ไม่มีกระบอกจอแบบเหล็กครอบ มีแกนหมุนเก็บผ้า จากด้านล่าง ขึ้นบน   เหมาะสำหรับติดซ่อนไว้ในฝ้า หรือทำกล่องครอบไว้ ค่ะ



 3.   จอฉายแบบขาตั้ง เหมาะสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่ ที่ไม่มีตำแหน่งยึดจอ หรือต้องการใช้งานชั่วคราว น้ำหนักจะมากกว่าแบบมือดึงเพราะมีขาตั้งมาด้วยค่ะ  ส่วนขาตั้งจะมีทั้งที่เป็นแบบ 3 ขา (Tripod Projection Screen) หรือแบบ 2 ขา ตั้งขึ้นมาจากด้านข้าง(Easy Fold Screen)
 

4.   จอฉายแบบตรึง  (Fixed Flam)  เป็นจอที่ขึงมาในกรอบ บางยี่ห้ออาจมีกรอบอลูมิเนียมบุกำมะหยี่สีดำ บางยี่ห้อเป็นสีน้ำเงิน เนื้อจอมักเป็นแบบ HD ซึ่ง ใช้สำหรับการชมภาพยนตร์ ติดตั้งภายในห้องค่ะ นอกจากนี้แล้ว    จอตรึงอีกแบบที่นิยมใช้ในบ้านเราตามร้านอาหารต่างๆ จะเป็นจอที่เจาะตาไก่แล้วร้อยกับโครงจอค่ะ  จอแบบนี้มักใช้จอที่เป็นจอหนัง(พลาสติก) มาทำ มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 150-300 นิ้ว  ราคาไม่สูงมาก เหมาะกับงานกลางแจ้งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็หาซื้อและสั่งทำได้ง่ายขึ้นค่ะ

5.   จอแบบตั้งโต๊ะ (portable Screen)  เป็นจอขนาดเล็ก ส่วนมากจะมีขนาดประมาณ 40-50 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการพกพา เวลาใช้ก็ดึงกระบอกจอออกมาแล้ววางบนโต๊ะนำเสนอเพื่อใช้งานได้ทันที
6.   จอแบบตั้งพื้น (Floor Screen) เป็นจอที่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่  ราคาจะสูงกว่าแบบขาตั้งธรรมดาแต่ดูสวยกว่า โดยจอประเภทนี่จะมีฐานจอขนาดใหญ่ ใช้ดึงจอจากด้านล่างขึ้นมาแล้วยึดกับโครงยึดจอด้านหลัง
 

7  จอภาพแบบฟิล์มติดกระจก   I Film screen  เป็นเนื้อฟิล์มติดกระจกแบบมีกาวในตัว  มองได้ทั้งสองด้าน สำหรับติดโชว์หน้าร้าน แล้วตั้งเครืองฉายโปรเจคเตอร์ไว้ในร้าน ค่ะ  





เนื้อจอฉาย

1.   Matte White มีค่า Gain 1.0เป็น จอที่ได้รับความนิยมในตลาดสูงมาก เนื่องจากราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เหมาะกับงานนำเสนอตัวหนังสือจากคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายสไลด์ หรือ Overhead สามารถทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่ กันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย 

 2.   Glass Beaded  มีค่า Gain 2.5  ราคาจะสูงกว่าแบบ Matt White สามารถ สะท้อนแสงได้ดีกว่า เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีแสงรบกวนสูง และมีตำแหน่งของผู้ชมไม่กว้างมากนักเพราะจอมีมุมมองภาพที่แคบ แนะนำในการใช้งานกับการนำเสนอรูปภาพต่างๆ ไม่เหมาะกับการฉายภาพที่เป็นข้อมูลตัวหนังสือคอมพิวเตอร์ เช่น excel ,word หรือภาพจาก Overhead  นอกจากนี้เนื้อจอยังกันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย   แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อจอยับนะคะเพราะจะทำให้คุณภาพของภาพลดลงมากทีเดียวค่ะ(ตอนนี้ไม่มีจำหน่ายแล้วค่ะ)

3.   Rear  projection screen  เนื้อจอภาพแบบฉายหลัง จอแบบนี้จะใช้ในกรณีที่เราติดตั้งเครื่องฉายไว้ด้านหลังจอ เนือจากสีออกเทาเขียว จอที่มีคุณภาพดีจะมีการกระจายแสงที่ดี ให้ภาพที่คมชัด  ราคาจะสูงกว่า 2 แบบแรกมากค่ะ

4.   High Definition หรือจอ HD  จอแบบนี้นิยมใช้กับห้องโฮมเธียเตอร์ในบ้าน แต่ก็สามารถใช้ในห้องประชุมได้ด้วย ภาพที่ได้จะให้คุณภาพสูงมากอย่างเห็นได้ชัด เมื่อฉายเทียบกับจอแบบ Matt white และ Glass beaded ทีสำคัญราคาสูงพอๆกับคุณภาพค่ะ



  นอกจากจอที่ยกตัวอย่างมาแล้วยังมีเนื้อจออีกหลายชนิด ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละราย ค่ะ

 

 ที่นี้พอรู้รายละเอียดแล้วว่าจอฉายภาพแต่ละแบบเป็นอย่างไร เรามีกฎง่ายๆ 4 ข้อในการเลือกซื้อจอค่ะ

    1  เลือกการใช้งาน ว่าต้องเคลื่อนย้ายจอไหม หรือติดอยู่กับที่ จะ ใช้จอ แขวน จอขาตั้ง หรือจอไฟฟ้า

    2  เลือกเนื้อจอ    ให้เหมาะกับ การใช้งานและงบประมาณ อยากได้ภาพคมๆ ก็ใช้จอแบบ HD ใช้งาน Present ทั่วไป ก็เป็น  Matt white  หรือ High gain

    3 เลือกอัตราส่วนภาพ  อิงกับอัตราส่วนของโปรเจคเตอร์ได้ก็จะดี ค่ะ เช่นถ้าโปรเจคเตอร์เป็นแบบ XGA จอที่ใช้ก็เป็นจอแบบ 4:3  ถ้ืาโปรเจคเตอร์เปฺ็นแบบ WXGA (1280x800 ) ก็เลือกใช้จอแบบ 16:10 ค่ะ 

    เลือกขนาดจอ  ตามขนาดห้อง  แสงรบกวน และความสว่างของเครื่องฉายโปรเจคเตอร์  ถ้าห้องกว้าง 8 เมตร ลึก 10 เมตร แต่เพดานแค่ 2.75 เมตร ก็จะแนะนำจอทแยงมุม 120 นิ้ว(244x183 ซม) เพราะ ความสูงห้องบังคับ    หรือห้องกว้างมาก แต่โปรเจคเตอร์ที่มีสว่างแค่ 2700 Lumens  ก็แนะนำจอที่ไม่เกิน 100 นิ้ว หากมีแสงรบกวนในห้องมากค่ะ


      ข้อความทั้งหมด มาจากประสบการณ์ของผู้เขียน ไม่ใช่หลักวิชาการ หากผิดพลาด ติงกันได้นะคะ แล้ว พบกันใหม่   สนใจสินค้าเพิ่มเติม https://www.soundscreen.co.th ได้เลยค่ะ  

      


ความคิดเห็น