วิธีดูแลรักษาเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์อย่างง่าย

    หลังจากตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ กันไปแล้ว เรียนรู้วิธีการใช้งานจนคล่องแล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ทำอย่างไรจึงจะดูแลรักษาเครื่องโปรเจคเตอร์ ให้ใช้งานได้นานๆ ใน ฐานะผู้ใช้ การทำความสะอาดหน้าเลนส์และทำความสะอาดที่กรองฝุ่นให้สะอาดอยู่เสมอ ระมัดระวังเวลาขนย้าย และเปิดปิดเครื่องถูกวิธี... เท่านี้ก็ช่วยได้มากแล้วค่ะ ส่วนภายในตัวเครื่องฯ สามารถถอดได้เอง คือ ฟิลเตอร์ กับหลอดภาพ นอกจากนี้ ห้าม..ถอด..ชิ้นส่วน ของเครื่องโปรเจคเตอร์อื่นๆ ออกเด็ดขาด(โดยเฉพาะระหว่างที่เครื่องอยู่ในการรับประกัน) ไม่อย่างนั้นจะทำให้การรับประกันสินค้าสิ้นสุดลงค่ะ

 รายละเอียดในการดูแลรักษาเครื่องฉายโปรเจคเตอร์

 1. ก่อน ทำความสะอาดตัวเครื่อง อย่าลืม..ปิดสวิตซ์เครื่องโปรเจคเตอร์ และถอดปลั๊กไฟออกก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะเช็ดเครื่องไป ยิ้มไป (เพราะไฟดูด) หลายท่านอาจบอกว่ามันมีกราวนด์จะไปดูดได้ยังไง อันนี้ต้องลองค่ะ ไม่ใส่รองเท้าแล้วจับเครื่อง เวลายืนบนพื้นกระเบื้อง ก็มีคนยิ้มนิดๆมาแล้วนะคะ... จากนั้นเช็ดตัวเครื่องด้วยผ้านุ่มๆ อาจชุบน้ำผสมผงซักฟอกอ่อนๆ บิดให้หมาดๆ แล้วเช็ด หากมีคราบฝังแน่นเกาะอยู่ หากเช็ดไม่ออกจริงๆ อาจใช้ครีมเช็ดทำความสะอาดที่ไม่แรงนักเช็ดเบาๆ แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดอีกครั้ง ห้าม..ใช้ ทินเนอร์ น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำยาเคมีแรงๆ หรือแอลกอฮอล์ เช็ดนะคะ เพราะสารเหล่านี้อาจทำให้ตัวเครื่องฉายฯ เป็นรอยได้ค่ะ

 2. หากเลนส์ฉายเปื้อนฝุ่น หรือคราบสกปรก สามารถใช้กระดาษเช็ดเลนส์ หรือน้ำยาเช็ดทำความสะอาดเลนส์ ได้ค่ะ แต่ถ้าไม่มีอาจใช้ที่เป่าฝุ่น หรือผ้านุ่ม ที่ไม่มีขน เช็ดคราบสกปรกออกค่ะ


 3. การ ทำความสะอาดฟิลเตอร์ (ที่กรองฝุ่น) หากฟิลเตอร์สกปรก จะทำให้เครื่องมีความร้อนสูงผิดปกติ สังเกตได้จากเวลาที่ใช้ในการระบายความร้อนของเครื่องฉายฯ นานขึ้น พัดลมมีเสียงดัง ผู้ใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ ควรทำความสะอาดที่กรองฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ สังเกตที่ใต้เครื่องฉายฯ จะมีตะแกรงและฟองน้ำกรองฝุ่นอยู่ค่ะ หาก ไม่พบ ผู้ใช้สามารถเปิดดูวิธีการทำความสะอาดในคู่มือการใช้งานของเครื่องค่ะ โดยทั่วไป แค่ใช้เครื่องดูดฝุ่นแรงลมเบาๆ ทำความสะอาด ดูดฝุ่นจากช่องระบายลมออก และ นำฟองน้ำกรองฝุ่น ออกมาล้างในน้ำสบู่อ่อนๆ ตากให้แห้ง ก็ถือว่าเพียงพอแล้วค่ะ 

 4. การเก็บเครื่องฉายฯ ก่อนเก็บลงกระเป๋า อย่าลืมเก็บขาตั้งและปิดฝาเลนส์นะคะ ที่สำคัญที่สุด ให้เครื่องฉายฯทำการระบายความร้อนให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงถอดปลั๊ก เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง เก็บเครื่องฉายฯ ด้านที่เป็นเลนส์อยู่ด้านบน (เวลาเผลอวางกับพื้นแรงๆ เลนส์จะได้ไม่แตกง่าย ค่ะ) ส่วนสายสัญญาณ เวลาเก็บม้วนเป็นวงกลม อย่าพับหรือบิดไปมา เพราะสายอาจหักในและเสียได้ค่ะ สำหรับผู้ใช้ที่นานๆจะใช้เครื่องฉายฯ ควรเก็บเครื่องฉายฯ ไว้ในสภาพแวดล้อมที่ระบุไว้ในคุณสมบัติของเครื่องในแคตตาล็อคค่ะ อย่าลืมนำแบตเตอรี่ออกจากรีโมทคอนโทรลด้วยนะคะ จะได้ใช้งานได้นานขึ้นค่ะ..

 สรุปขั้นตอนง่ายๆ สั้น คือ 

 รายครั้ง  ปิดเครือง > รอจนพัดลมหยุดทำงาน >ถอดปลั๊ก หรือปิดเบรกเกอร์ > เก็บอุปกรณ์ > ใ่ส่เครืองฉายลงกระเป๋าให้ด้านเลนส์อยู่ด้านบน

 ราย 3 เดือน  ดูดฝุ่น และทำความสะอาดฟิลเตอร์   เช็คอายุหลอดภาพ และสีภาพว่าปกติหรือไม่

 ราย 12 เดือน เช็คสภาพ ภาพ ตัวเครือง หากมีปัญหา ส่งเข้าศูนย์ เนืองจากอยู่ในระยะประกัน ค่ะ

สินค้าอิเลคทรอนิคส์ ถ้าเก็บไว้ไม่ใช้งานนานๆ อาจเสียได้นะคะ ควรนำมาเปิดใช้งาน อย่างน้อย  เดือนละ 1 ครั้งค่ะ    







ความคิดเห็น