เครื่องฉายภาพ3 มิติ Digital Visualizer
หลายท่าน อาจตั้งคำถามว่า เครื่องฉายภาพ 3 มิติ กับเครื่องฉายภาพทึบแสง เป็นตัวเดียวกันหรือไม่..คำตอบคือไม่ ค่ะ
เครื่องฉายที่อยู่ด้านข้างนี้เป็นเครื่องฉายภาพทึบแสงค่ะ..ตอนนี้ไม่มีจำหน่ายแล้ว
สำหรับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Opaque projector) เป็นอุปกรณ์การฉายภาพที่ใช้หลักการฉายสะท้อน (Reflected projection system) สามารถฉายภาพวัตถุ ได้ด้วยตัวของมันเอง ข้อเสียของเครื่องฉายชนิดนี้ คือ ต้องใช้กับวัตถุขนาดเล็กๆ ทีสามารถวางแท่นได้ ต้องใช้ห้องที่มืดมาก ๆ หรือมืดสนิทจึงจะมองเห็นภาพบนจอชัดเจน เครื่องมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวกเหมาะสำหรับตั้งอยู่กับที่มากกว่าเคลื่อนย้าย
เครื่องฉายภาพ 3 มิติ (Digital Visaulizer) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับฉายภาพจากวัตถุ 3 มิติ วัตถุทึบแสง เช่น กระดาษ หนังสือ ตัวอย่างสินค้า อะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก รวมถึงสามารถฉายแผ่นใส ฟิลม์สไลด์ ได้ด้วย หรือ รวมสรุปง่ายๆว่าเครื่องฉายภาพ 3 มิติ สามารถฉายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นของจริงได้ รวมทั้งฉายภาพ เคลื่อนไหว ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ หรือวัตถุขนาดใหญ่ โดยการหมุนกล้องจับภาพ ในอุปกรณ์เพียงหนึ่งเดียว ทำให้สะดวกในการนำเสนอ ผู้ใช้ ไม่ต้องใช้กล้องถ่ายวีดีโอ หรือเครื่องฉายสไลด์ เพิ่มเติม ไม่ต้องแปลงงานที่ต้องการนำเสนอ ให้เป็นแผ่นใสก่อนใช้งาน เหมือนกับการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Over head projector) การใช้เครื่องฉายภาพ 3 มิติ นั้น จะต้องใช้ร่วมกับเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ ( projector) หรือจอมอนิเตอร์ทีวี เป็นตัวช่วยในการแสดงสัญญาณภาพ นี่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับเครื่องฉายภาพทึบแสงค่ะ
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพ 3 มิติ
1. กล้องจับภาพ ทำ หน้าที่ถ่ายภาพวัตถุที่วางบนแท่นวางให้ปรากฏที่จอ ในเครื่องฉายฯ บางรุ่น ตัวกล้องสามารถหมุนได้รอบทิศทาง และสามารถเลื่อนกล้องขึ้น-ลง ได้
อุปกรณ์สร้างสัญญาณภาพที่พบบ่อยๆ
-
CCD (Charge Coupled Device) เป็นสัญญาณแบบ Analog ใน CCD ปริมาณแสงที่ Pixel ได้รับจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผล เพื่อทำการนับจำนวนอิเล็กตรอนของแต่ละ Pixel ให้สัญญาณแบบอนาล็อค ภาพที่ได้จาก CCD จะมีการกระจายแสงสูงกว่า และ noise น้อยกว่าง มีความไวแสงกว่า แต่ก็กินกระแสไฟฟ้ามากกว่า CMOS
-
Progressive CCD ให้ภาพที่คมชัดกว่า มีความสั่นไหวน้อย รองรับสัญญาณ ได้หลากหลาย และแปลงสัญญาณได้ดีกว่า CCD ธรรมดา พบในเครื่องฉายหลายยี่ห้อ ราคาจะสูงกว่าแบบ CCD และอื่นตามที่ผู้ผลิตเรียกค่ะ
2.แท่นวาง
เป็นที่สำหรับวางสิ่งที่ต้องการฉาย ด้านบนมีลักษณะเป็นแก้วใส
มีไฟส่องสว่างด้านล่าง ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดปิด ไฟ ได้ตามความต้องการใช้งาน
ดังนั้นหากสิ่งของที่ต้องการฉายเป็นโลหะหรือวัตถุอื่นๆ ที่แข็งและหนัก
ควรวางแต่เบามือ เพื่อป้องกันการชำรุด แต่ในเครื่องฉาย ฯ บางรุ่น
บางยี่ห้อ เช่น Avervision Lumens จะไม่มีแท่นวาง เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย และน้ำหนักเบา ผู้ใช้สามารถวางวัตถุไว้บนโต๊ะ หรือกระดาษสีขาว แทนได้ค่ะ
3. หลอดไฟ ให้แสงสว่าง เพื่อให้สิ่งที่ต้องการฉายแสดงบนจอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยทั่วไปจะมีหลอดไฟที่แท่นวาง 1 ดวง และหลอดไฟฉายข้าง 2 ดวง เครื่องฉายฯ บางยี่ห้อ จะใช้หลอดไฟแบบ LED เพื่อให้อายุการใช้งานของหลอดนานขึ้น เช่น ยี่ห้อ Razr หรือ Vertex บางรุ่น อายุหลอดนาน กว่า 10,000 ชั่วโมง
4. ช่องต่อสัญญาณเข้าและออก ใช้สำหรับต่อสัญญาณเข้ากับเครื่อง เครื่องที่มีราคาสูงก็ยิ่งมีช่องเชื่อมต่อมาก อาจมีช่อง HDMI , VGA x 2 หรือสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่าน สาย USB เพื่อเก็บภาพไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ (PC interface)
5. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ช่องเสียบแผ่นสไลด์ มักมีบริเวณหัวกล้องมีในเครื่องฉายฯ หลายรุ่นในปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน ช่องเสียบ memory card เช่น CF card/SD card ช่องต่อหัวกล้องจุลทรรศน์
6. ชุดคำสั่ง สำหรับ ควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่อง เช่น การปรับโฟกัส การปรับภาพสี-ขาวดำ การย่อ-ขยายภาพ การสลับสัญญาณ การเปิด-ปิดหลอดไฟ เป็นต้น ซึ่งเมนูดังกล่าวสามารถเรียกใช้ได้จาก Control panel หรือ Remote Control หรือแม้แต่การมีปุ่ม Auto setup เพื่อความสะดวกในการปรับแต่งค่า โดยปุ่มนั้มักเรียกสัญญาณเข้า ปรับโฟกัส ค่า Whitebalance ให้อัตโนมัติ
การเลือกซื้อเครื่องฉายภาพ 3 มิติ เบื้องต้น
- จุดประสงค์หลักในการใช้งาน ผู้ ใช้ควรสำรวจความต้องการใช้งานว่า ต้องการใช้สำหรับ งานที่มีความละเอียดมากน้อยเพียงใด เป็นเอกสารทั่วไป ภาพสไลด์ หรือฉายภาพแผงอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ขนาดเล็ก หากต้องใช้งานกับวัตถุที่มีความละเอียดสูง ก็ควรเลือกเครื่องฉายฯ ที่มีความละเอียดของกล้องสูงตั้งแต่ 780000 Pixels ขึ้นไป และ มีอุปกรณ์สร้างสัญญาณภาพที่ดี อาจเป็น PS CCD, แต่ถ้าเป็นวัตถุ เอกสารทั่วไป มีงบประมาณในการซื้อจำกัด ก็สามารถเลือกใช้เครื่องฉายฯ ที่มีความละเอียดประมาณ 470000 pixels เป็นแบบ CCD หรือ CMOS มาใช้งานได้ค่ะ
- ความสะดวกในการใช้งาน หากต้องย้ายสถานที่ใช้งานบ่อยๆ หรือ ต้องพกพาไปนอกสถานที่ ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีน้ำหนักน้อย อาจเป็นรุ่นที่ไม่มีแท่นวางภาพ หรือรุ่นที่มีตัวกล้อง ติดอยู่กับเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เช่น เครื่องฉายฯ ของโตชิบา แต่หากใช้ประจำห้อง เครื่องฉายฯ ที่มีแท่นวางน้ำหนักอาจมากกว่า แต่ก็ตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย กว่าค่ะ
- ความสามารถต่างๆในการใช้งาน เช่นการย่อ-ขยายภาพ การปรับโฟกัส การเก็บภาพ และลูกเล่นต่างๆ ที่มีในเครื่องฉาย ฯ หากผู้ใช้ต้องการเก็บภาพที่ฉายลงในเครื่องฉายฯ หรือถ่ายโอนข้อมูลภาพไปยังคอมพิวเตอร์ ก็ควรเลือกซื้อรุ่นที่ มี PC interface หรือมีระบบเก็บภาพในเครื่อง มีช่องเสียบ card memory ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเก็บและเรียกใช้ภาพ นอกจากนี้เครื่องฉายฯบางรุ่น สามารถ บันทึกสัญญาณภาพ วีดีโอเก็บไว้ได้ด้วย เรียกได้ว่าอำนวยความสะดวกกันเต็มที่ทีเดียว
- มองหาเครื่องฉายฯ ที่มีอัตราการเคลื่อนไหวของภาพ( Frame rate) สูงๆ เพื่อให้การนำเสนอภาพเป็นแบบ real time ไม่ กระตุก โดยปกติ จะอยู่ที่ 30/40 เฟรม ต่อวินาที ถ้านึกภาพไม่ออกว่าอัตราการเคลื่อนไหวของภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ให้นึกถึงภาพเวลาที่เราเอามือไปโบกหน้ากล้องถ่ายวีดีโอค่ะ ถ้าอัตราการเคลื่อนไหวต่ำ ภาพจะเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ค่ะ
- การรับประกัน รับประกันนานกี่ปี มีบริการหลังการขายหรือไม่ เวลาซ่อมไม่ต้องรออะไหล่นาน ถือเป็นการรับประกันในฝันของผู้ใช้ค่ะ
-
งบประมาณ ข้อนี้สำคัญที่สุด เลือกเครื่องฉายฯ ที่ถูกใจ มา 2-3 รุ่น แล้วค่อยเลือกรุ่นที่เหมาะกับงบประมาณของเราค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้งาน หรือ พนักงานขายก็ได้ค่ะ
ภาพนี้เป็น ยีห้อ เอปสัน ค่ะ รุ่น ELP DC11
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น